วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

เดินกะลา


เดินกะลา
ภาพ:การเล่นกะลา3.jpg
การเล่นเดินกะลา เด็กรุ่นก่อนๆ จะชอบเล่นเดินกะลามาก เพราะกะลาหาง่าย มีอยู่ทั่วไป การเดินบนกะลานั้น ผู้ที่เริ่มฝึกจะรู้สึกเจ็บฝ่าเท้า เพราะความโค้งมนและความแข็งของกะลา แต่ถ้าได้ฝึกบ่อยๆ อาการเจ็บก็จะหายไป ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณเท้าแข็งแรงขึ้นและยังเป็นการนวดฝ่าเท้าไปในตัวด้วย นอกจากนี้ผู้เล่นจะฝึกในเรื่องของการทรงตัว ซึ่งจะทำให้เรียนรู้เรื่องของความสมดุล หรือ Balance ไปในตัวอีกด้วย คนที่รักษาสมดุลของร่างได้ดีก็จะทรงตัวได้ดีและมักจะถึงเส้นชัยก่อน นอกจากนี้ถ้าเล่นเดินจนเบื่อแล้วก็ยังสามารถเอามาเล่นเป็นโทรศัพท์พูดแล้วได้ยินเสียงกันได้เรียนรู้เรื่องของเสียงได้อีกด้วยอยากลองประดิษฐ์เล่นแล้วใช้ไหมละครับ ลองทำเล่นดูนะ

 

อุปกรณ์การเล่น

  1. กะลามะพร้าวคนละ 2 อัน
  2. เชือกยาวประมาณ ๑ เมตร 

               

วิธีทำ


        นำกะลาที่ล้างสะอาดเจาะรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก แล้วร้อยเชือกผูกปมให้แน่นหนากันหลุดเวลาเดิน   
        

กติกาการเล่น


        ในการแข่งขันผู้ใดเดินกะลาได้เร็วและไม่ล้มจะเป็นผู้ชนะ หากเป็นการเล่นคนเดียวเด็กจะใช้จินตนาการในการเล่นของตน เช่น สมมุติว่าเป็นการขี่ม้าหรือเดินรองเท้าส้นสูง เป็นต้น   
                                               

วิธีการเล่น

ภาพ:การเล่นกะลา2.jpg

        ให้ขีดเส้นชัย โดยห่างจากเส้นเริ่มต้น 3 เมตรหรือ 5 เมตรหรือตามแต่จะตกลงกัน ผู้เล่นจะต้องขึ้นไปยืนบนกะลาที่คว่ำลงทั้งสองซีก ใช้นิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้คีบหนีบเชือกไว้ มือจับเชือกดึงให้ถนัด เริ่มเล่นโดยการให้ทุกคนเดินจากเส้นเริ่มต้นแข่งขันกัน ใครที่ถึงเส้นชัยก่อน  
                                           

ประโยชย์จากการเล่น

        เพื่อความสนุกเพลิดเพลิน, เสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และเป็นการฝึกการทรงตัวอีกด้วย การเดินกะลาไม่จำกัดจำนวนฝึกการทรงตัว พัฒนาความแข็งแรงของร่างกาย และสนุกสนานเพลิดเพลิน

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

ไม้โถกเถกหรือขาเถกเถก

ไม้โถกเถก หรือขาโถกเถก

เป็น การเล่นต่อขาให้สูงสันนิษฐานว่าจะมาจากการทีผู้ใหญ่ใช้วิธีการนี้เดินข้าม น้ำ หรือ เข้าป่าเข้าพง แต่ไม่มีรองเท้าสวมใส่กันหนามไหน่ เมื่อป่าพงหมดไปมีรองเท้าสวมใส่ป้องกันหนามไหน่ได้ก็คงจะเลิกใช้กัน แต่เด็กนำมาเป็นของเล่น เล่นกันให้สนุกสนาน

  • อุปกรณ์ในการเล่น
ไม้ ไผ่ท่อนเล็กขนาดพอเหมาะมือจับได้มั่น ๒ ท่อน ยาวท่อนละประมาณ ๑.๕๐ - ๒ เมตร เลือกไม้ไผ่ที่มีแขนงที่แข็งแรงยื่นออกมาจากบ้องโดยกะขนาดให้ได้ความสูงใน การที่จะขึ้นไปยืนและก้าวเดินได้ตามที่ต้องการ หากหาไม้ไผ่ที่แขนงแข็งแรงจากปล้องไม่ได้ คะเนความสูงตามที่ต้องการแล้วทำเครื่องหมายไว้ จากนั้นเจาะรูจากที่ทำเครื่องหมายให้ทะลุไปอีกด้านหนึ่ง หาไม้เหนียว ๆ แข็งแรง หรือเหล็กสอดเข้าไปในรูทำสลัก และหาไม้ไผ่ท่อนยาวประมาณ ๑ คืบ ๑ คู่ ไม้ไผ่คู่นี้เลือกตัดให้มีปล้องไม้ไผ่อยู่ตรงกลาง เหนือปล้องไม้ไผ่ด้านหนึ่งเจาะเป็นรูกว้างพอที่จะสวมไม้ไผ่ท่อนยาวได้ให้ลง มาวางอยู่บนแขนงไม้ที่ยื่นจากปล้องหรือลงบนไม้หรือเหล็กที่ทำสลักไว้เวลา เล่นขึ้นไปเหยียบบนท่อนไม้ที่สวมไม้ท่อนยาววางเท้าให้มั่นๆและจับไม้ท่อนยาว ให้ตั้งตรง ก้าวเดินไปคล้ายเดินธรรมดา หากหัดจนชำนิชำนาญก็พาไม้วิ่งได้รวดเร็ว ถ้าต้องเดินสูงมากจะทำรูสลักสูง เวลาขึ้นไปยืนบนไม้โถกเถกต้องใช้บันไดบ้านหรือกำแพสำหรับพิงไม้โถกเถกแล้ว ขึ้นไปยืน




    


    • โอกาสหรือเวลาที่เล่น
    เล่นได้ทุกโอกาสเด็ก ๆ จะวิ่งแข่งกัน หรือเล่นในงานโรงเรียนเป็นการแข่งขันระหว่างชั้นปี หรือในเทศกาลต่าง ๆ เช่น สงกรานต์ เทศกาลกฐินจะมีกีฬาหมู่บ้านเพื่อความสนุกสนานและความสามัคคีก็จะจัดแข่งขัน เดินวิ่งไม้โถกเถก
    • คุณค่าสาระและแนวคิด
    การเล่นไม้โถกเถก จะทำให้ผู้เล่นรู้จักระมัดระวังตนไม่ประมาทไม้โถกเถกเป็นภูมิปัญญาของชาว บ้านที่คิดทำของเล่นให้เด็ก ๆ จากธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น การแข่งขันวิ่งไม้โถกเถกทำให้เกิดความสามัคคีทั้งผู้ล่นและผู้มาให้กำลังใจ และความสมัครสมานสามัคคีของชุมชนได้รับความสนุกสนานโดยไม่สิ้นเปลือง การเลือกตัดไม้ไผ่มาทำไม้โถกเถก การฝึกเดินเป็นการสืบทอดความรู้ภูมิปัญญาจากคนหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งต่อ ไป
    ปัจจุบันการเล่นไม้โถกเถกไม่ ค่อยนิยมเล่นแล้วในหมู่เด็กในอีสาน นอกจากในบางท้องถิ่น เพราะมีของเล่นอื่น ๆ ที่สามารถหาซื้ออุปกรณ์มาเล่นกันได้สะดวกขึ้น ค่านิยมจากภายนอกเข้าไปกำหนดและวางรูปแบบที่ว่าเป็นสากล การศึกษา การเรียนการสอนเป็นการละเล่นที่เป็นสากลนิยม ไม่มีเรื่องของท้องถิ่น การสืบทอดภูมิปัญญาในการประดิษฐ์ของเล่นพื้นถิ่นจึงค่อย ๆ หายไปจนคนรุ่นหลังไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ และปัจจุบัน ป่าไม้ถูกทำลายลงมาก บ้านกับป่าแยกจากกันไกลกัน การจัดหาไม้ไผ่มาทำของเล่นจึงเป็นเรื่องยุ่งยาก และราคาแพง ถ้าต้องซื้อหา
    การ เล่นไม้โถกเถก เป็นอันตรายต่อเด็กผู้ใหญ่มักจะห้ามปรามหรือไม่ทำให้เล่น การละเล่นประเภทนี้จึงหายไป แต่แท้จริงการละเล่นไม้โถกเถกนั้น เป็นการละเล่นสากลประเทศต่าง ๆ ในยุโรปก็นิยมเช่นกัน ละครสัตว์ทุกคณะมีการเล่นไม้โถกเถก ในพิธีเปิดการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ประเทศฝรั่งเศสก็มีการเล่นไม้โถกเถกเช่น กัน

ปิดตาตีหม้อ

ปิดตาตีหม้อ
ปิดตาตีหม้อ   วางหม้อดิน เรียงเป็นแถวห่างกันพอสมควรตามจำนวนผู้เล่น จัดผู้เล่นเรียงตามแถวงหม้อเดินถอยออกมาให้ห่างหม้อพอสมควร แล้วผูกตาผู้เล่น หมุนผู้เล่น 1 รอบ แล้วจัดผู้เล่นให้หันไปทางหม้อ ให้ผู้เล่นเดินไปข้างหน้าเพื่อตีหม้อของตนให้ถูก ถ้าตีไม่ถูกก็เป็นฝ่ายแพ้ ถ้าไม่มีหม้อใช้ถังพลาสติกก็ได้

เตรียมอุปกรณ์ :

1  หม้อดิน หรือ ปิ๊บ
2  ไม้ขนาดจับถนัดมือ ความยาวประมาณ 1.5 เมตร
3  ผ้าสำหรับปิด
 
วิธีการเล่น + กติกา :
            ให้เด็ก ๆ แบ่งเป็นทีม แล้วเลือกคนที่จะปิดตา 1 คน โดยคนที่ถูกปิดตาจะเป็นคนตีหม้อ
ส่วนคนที่เหลือ ให้บอกทิศทาง จนกว่าเพื่อนจะตีถูกหม้อ โดยมีข้อแม้ว่า .. ห้ามพูดภาษาไทย
ถ้าทีมใดพูดภาษาไทยให้ปรับแพ้ทันที ทีมที่ตีหม้อได้ก่อน เป็นฝ่ายชนะ


เพิ่มหัวข้อประโยชน์

เล่นเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินเสริมสร้างความสามัคคี

งูกินหาง

งูกินหาง

       
      อุปกรณ์ และวิธีเล่น
                 การเล่นงูกินหางไม่มีอุปกรณ์การเล่นใด ๆ สามารถเล่นได้ทุกโอกาสจะมีเล่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนมากผู้ใหญ่จะเล่นในเทศกาลสำคัญ เช่น สงกรานต์ ส่วนเด็ก ๆ จะเล่นทุกโอกาสที่เด็ก ๆ รวมกันซึ่งมีวิธีการเล่นดังนี้ เริ่มเล่นเมื่อผู้เล่นพร้อมกันแล้วจะเริ่มด้วยการเสี่ยงถ้าใครแพ้คนนั้น ก็จะออกเป็นพ่องู ส่วนผู้ชนะก็จะได้เล่นเป็นแม่งูและลูกงู ู ส่วนมากในกลุ่มผู้เล่นจะเลือกเอาคนที่มีร่างกายแข็งแรงหรือรูปร่างใหญ่ในทีม เป็นแม่งู เพื่อเอาไว้ป้องกันลูกงู เมื่อได้ผู้เล่นแล้วพ่องูและแม่งูจะยืนหันหน้าเข้าหากัน ส่วนแม่งูจะมีลูกงูกอดเอวต่อแถวไปข้างหลังแล้วพ่องูจะเริ่มถามแม่งูว่า

พ่องู "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"
แม่งู "กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมา" พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"
แม่งู "กินน้ำบ่อหินบินไปบินมา" พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา
พ่องู "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"
แม่งู "กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา" พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู "กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว"

               เมื่อพ่องูกล่าวเสร็จพ่องูจะเริ่มไล่จับลูกงูที่กอดเอวแม่งูอยู่ส่วนแม่งูก็ จะพยายามป้องกันไม่ให้พ่องูไปแย่งลูกงูได้ เมื่อพ่องูจับลูกงูคนใดได้ลูกงูก็จะออกมายืนอยู่ต่างหากเพื่อรอเล่นรอบต่อไป ส่วนพ่องูจะพยายามแย่งลูกงูให้ได้หมดทุกตัวจึงจะถือว่าจบการเล่นรอบหนึ่ง เมื่อพ่องูจับลูกงูได้ทุกตัวแล้วก็จะเริ่มเล่นใหม่ โดยพ่องูคนเดิมจะกลับไปเป็นแม่งูในรอบต่อไป

คุณค่า/แนวคิด/สาระ
๑. ให้ความสนุกสนานในกลุ่มผู้เล่น
๒. ฝึกให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มผู้เล่น
๓. ฝึกฝนการต่อสู้และการหลบหลีกภัยที่จะเกิดกับตน
๔. ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มตั้งแต่วัยเด็ก
๕. ได้ออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง

รีรีข้าวสาร

รีรีข้าวสาร


 การเล่นรีรีข้าวสาร เป็นการละเล่นของเด็กไทยสมัยก่อนประเภทหนึ่ง นิยมเล่นกันเป็นกลุ่มใหญ่ ไม่มีอุปกรณ์การเล่น แต่มีกติกาและวิธีการเล่นดังนี้

   กติกา
        คนที่อยู่ท้ายสุดของแถวจะต้องถูกจับและคัดออกไปทีละคน

    วิธีเล่น

ภาพ:รีรีข้าวสาร.jpg
        เล่นกี่คนก็ได้ ผู้เล่น ๒ คนยืนหันหน้าเข้าหากันโน้มตัวประสานมือกันเป็นรูปซุ้ม ส่วนผู้อื่นเกาะเอวต่อ ๆ กันตามลำดับ หัวแถวจะพาลอดใต้ซุ้มมือพร้อมกับร้อง บทร้อง ประกอบการเล่นว่า
รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก
เด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบลาน
คดข้าวใส่จาน คอยพานคนข้างหลังไว
        เมื่อร้องถึงประโยคที่ว่า คอยพานคนข้างหลังไว้ ผู้ที่ประสานมือเป็นซุ้มจะลดมือลงกันคนสุดท้ายไว้ ซึ่งคนสุดท้ายจะถูกคัดออกไปจากแถว แล้วจึงเริ่มต้นเล่นใหม่ทำเช่นนั้นจนหมดคน
 ประโยชน์จากการเล่น
        เป็นการเล่นของเด็กอายุระหว่าง 4 – 6 ปี เล่นรวมกันทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย เด็กจะได้รับประโยชน์ การเล่น เช่น
1. เพลิดเพลิน จิตใจร่าเริง แจ่มใส ยอมรับในกฎเกณฑ์กติกาในการเล่น
2. ออกกำลังกายพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้แข็งแรง
3. หัดให้เด็กมีไหวพริบ ปฏิภาณ และรู้จักใช้กลยุทธที่จะให้ตนรอดจากการถูกคล้องตัวไว้
4. หัดให้เด็กรู้จักทำงานเป็นกลุ่มโดยหัวแถวต้องพยายามพาแถว โดยเฉพาะคนสุดท้ายให้รอดพ้นจากการถูกกักตัวให้ได้