วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

เดินกะลา


เดินกะลา
ภาพ:การเล่นกะลา3.jpg
การเล่นเดินกะลา เด็กรุ่นก่อนๆ จะชอบเล่นเดินกะลามาก เพราะกะลาหาง่าย มีอยู่ทั่วไป การเดินบนกะลานั้น ผู้ที่เริ่มฝึกจะรู้สึกเจ็บฝ่าเท้า เพราะความโค้งมนและความแข็งของกะลา แต่ถ้าได้ฝึกบ่อยๆ อาการเจ็บก็จะหายไป ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณเท้าแข็งแรงขึ้นและยังเป็นการนวดฝ่าเท้าไปในตัวด้วย นอกจากนี้ผู้เล่นจะฝึกในเรื่องของการทรงตัว ซึ่งจะทำให้เรียนรู้เรื่องของความสมดุล หรือ Balance ไปในตัวอีกด้วย คนที่รักษาสมดุลของร่างได้ดีก็จะทรงตัวได้ดีและมักจะถึงเส้นชัยก่อน นอกจากนี้ถ้าเล่นเดินจนเบื่อแล้วก็ยังสามารถเอามาเล่นเป็นโทรศัพท์พูดแล้วได้ยินเสียงกันได้เรียนรู้เรื่องของเสียงได้อีกด้วยอยากลองประดิษฐ์เล่นแล้วใช้ไหมละครับ ลองทำเล่นดูนะ

 

อุปกรณ์การเล่น

  1. กะลามะพร้าวคนละ 2 อัน
  2. เชือกยาวประมาณ ๑ เมตร 

               

วิธีทำ


        นำกะลาที่ล้างสะอาดเจาะรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก แล้วร้อยเชือกผูกปมให้แน่นหนากันหลุดเวลาเดิน   
        

กติกาการเล่น


        ในการแข่งขันผู้ใดเดินกะลาได้เร็วและไม่ล้มจะเป็นผู้ชนะ หากเป็นการเล่นคนเดียวเด็กจะใช้จินตนาการในการเล่นของตน เช่น สมมุติว่าเป็นการขี่ม้าหรือเดินรองเท้าส้นสูง เป็นต้น   
                                               

วิธีการเล่น

ภาพ:การเล่นกะลา2.jpg

        ให้ขีดเส้นชัย โดยห่างจากเส้นเริ่มต้น 3 เมตรหรือ 5 เมตรหรือตามแต่จะตกลงกัน ผู้เล่นจะต้องขึ้นไปยืนบนกะลาที่คว่ำลงทั้งสองซีก ใช้นิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้คีบหนีบเชือกไว้ มือจับเชือกดึงให้ถนัด เริ่มเล่นโดยการให้ทุกคนเดินจากเส้นเริ่มต้นแข่งขันกัน ใครที่ถึงเส้นชัยก่อน  
                                           

ประโยชย์จากการเล่น

        เพื่อความสนุกเพลิดเพลิน, เสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และเป็นการฝึกการทรงตัวอีกด้วย การเดินกะลาไม่จำกัดจำนวนฝึกการทรงตัว พัฒนาความแข็งแรงของร่างกาย และสนุกสนานเพลิดเพลิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น